ตกผลึกความจริงจากพระธรรมอพยพ
บทเรียน 19:
บทเรียน 19:
"พันธสัญญา"
ศึกษาพันธสัญญาที่พระเจ้าทำกับมนุษย์ในพระคัมภีร์ทั้งภาคพันธสัญญาเดิม
และพันธสัญญาใหม่ รวมถึงความหมายของพันธสัญญาเหล่านั้นต่อชีวิตของผู้เชื่อทุกคน
พระเจ้าของเราเป็นพระเจ้าแห่งพันธสัญญา พระคัมภีร์ทั้งเล่มก็เป็นพันธสัญญาที่พระเจ้าทำกับมนุษย์
ด้วยเหตุนี้ เราจึงเรียกพระคัมภีร์ 39 เล่มแรกว่า "พันธสัญญาเดิม" (old
testament) และ 27 เล่มหลังว่า "พันธสัญญาใหม่" (new
testament) ดังนั้น ผู้เชื่อทุกคนทุกยุคทุคสมัยก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธสัญญาของพระองค์ทั้งสิ้น
คำว่า "พันธสัญญา" ในภาษาไทยง่ายๆ
เพราะมีอยู่คำเดียว ไม่ต้องปวดหัว แต่ภาษาอังกฤษในพระคัมภีร์ใหม่ มีคำแปล 2 คำ คือ covenant และ testament ซึ่งมาจากภาษากรีกเดียวกัน
คือ "diatheke"
covenant (ถ้าใช้ภาษาง่ายๆ
ก็คือ contract) แปลว่า "สัญญา/ข้อตกลง" ส่วนคำว่า testament มีความหมายเชิง "พินัยกรรม" Mickelson's
Enhanced Strong's Dictionaries of the Greek and Hebrew Testaments ได้ให้ความหมายของคำว่า "diatheke"
ว่าเป็นสัญญา/ข้อตกลงโดยเฉพาะที่เป็นพินัยกรรม
ดังนั้นดูเหมือนคำว่า testament จึงน่าจะตรงกับความหมายของรากศัพท์ภาษากรีกอย่างไม่ผิดเพี้ยน
จากความเข้าใจของคนทั่วไป พินัยกรรมก็คือเอกสารที่ระบุเจตนาของผู้ที่ทำว่าจะมอบทรัพย์สินที่มีค่าให้กับผู้รับพินัยกรรม
และผลก็จะไม่มีทางเกิดขึ้นจนกว่าที่ผู้ทำพินัยกรรมจะตายเสียก่อน นี่จึงทำให้คำว่าพันธสัญญา
ซึ่งมีความหมายตรงกับ "พินัยกรรม" มีความน่าสนใจมาก
เพราะแท้จริงแล้ว พันธสัญญา คือสิ่งที่พระเจ้าตั้งใจที่จะให้สิ่งมีค่าแก่เรา และเราในฐานะลูกของพระเจ้าได้รับมรดกนั้นเรียบร้อยแล้ว
เพราะว่าผู้ทำพินัยกรรม ซึ่งก็คือพระเจ้าเอง
ได้มาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อตายไถ่บาปแทนเรา และเมื่อพระองค์ได้ผ่านกระบวนการตายแล้ว พันธสัญญาต่างๆ
ที่เคยเป็นสัญญา/ข้อตกลงในพระคัมภีร์เดิม ก็ได้กลายเป็นพินัยกรรม และบัดนี้เราก็สามารถเพลิดเพลินกับสิ่งมีค่าสูงสุดที่ผู้ทำพินัยกรรมตั้งใจจะมอบให้แก่เราตลอดไป
สิ่งมีค่านี้จะเป็นสิ่งอื่นได้ไม่ได้นอกจากองค์พระเยซูคริสต์เจ้าของเราทุกคน
ในบทที่แล้ว ผมได้เขียนเล่าถึงพิธีรับพันธสัญญา ซึ่งเป็นการประกาศใช้ธรรมบัญญัติอย่างเป็นทางการ
และทำให้ธรรมบัญญัติได้กลายเป็น "พันธสัญญา" ขึ้นมา ในบทนี้ ผมจึงอยากเล่าต่อเกี่ยวกับพันธสัญญาหลักอื่นๆ
ในพระคัมภีร์เดิม และพระคัมภีร์ใหม่ เพื่อจะได้ช่วยให้พี่น้องได้เห็นจัดเจนขึ้นถึง
"พินัยกรรม" ที่พระเจ้าได้มอบให้แก่เราเรียบร้อยแล้ว
"พันธสัญญา"
ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิม
ในพระคัมภีร์เดิม มีการบันทึกเกี่ยวกับพันธสัญญาของพระเจ้าหลายครั้ง
ในที่นี้ ผมจะขอกล่าวถึงแค่พันธสัญญาหลักๆ ที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับผู้เชื่อในพันธสัญญาใหม่โดยตรงครับ
โดยจะแบ่งเป็น 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ พันธสัญญาของพระเจ้ากับเอวา อับราฮัม และดาวิดเกี่ยวกับ "เชื้อสาย" และพันธสัญญาของพระเจ้ากับโนอาห์ในการให้ "รุ้ง"
1. พันธสัญญาของพระเจ้ากับเอวา
อับราฮัม และดาวิด เกี่ยวกับ "เชื้อสาย"
1.1 พันธสัญญากับเอวา
หลังจากที่มนุษย์ล้มลงในความบาป อันส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าต้องขาดสะบั้นลง
ด้วยความเมตตากรุณา พระเจ้าได้ใหัสัญญาไว้กับเอวาว่าเชื้อสายหรือพงศ์พันธุ์ของเธอจะเป็นความหวังของมนุษย์โลก
ท่านผู้นั้นจะบดขยี้หัวของซาตาน ซึ่งแลกด้วยการที่เท้าของท่านก็จะฟกช้ำด้วยเช่นกัน
เราจะให้เจ้ากับหญิงนี้เป็นศัตรูกัน
ทั้งพงศ์พันธุ์ของเจ้า และพงศ์พันธุ์ของนางด้วย เขาจะทำให้หัวของเจ้าแหลก
และเจ้าจะทำให้ส้นเท้าของเขาฟกช้ำ
(ปฐมกาล 3:15)
(ปฐมกาล 3:15)
และในพันธสัญญาใหม่ คงจะไม่มีใครเถียงได้ ว่าพงศ์พันธุ์ของเอวาผู้นั้น
คือพระคริสต์นั่นเอง พระองค์เกิดจากนางมารีย์สาวพรหมจารีย์
มาบดขยี้หัวของซาตานที่กางเขน และไถ่เราให้หลุดพ้นจากอำนาจของความบาปและความตาย ส่งผลให้เราสามารถกลับมามีความสัมพันธ์กับพระเจ้าผู้เป็น
"พ่อ" ของเราได้อีกครั้งหนึ่ง
เธอจะให้พระกำเนิดบุตรชาย
แล้วจงเรียกนามท่านว่า เยซู
เพราะว่าท่านจะทรงช่วยชนชาติของท่านให้รอดจากบาปของพวกเขา
(มัทธิว 1:21)
(มัทธิว 1:21)
4
แต่เมื่อครบกำหนดแล้ว พระเจ้าก็ทรงใช้พระบุตรของพระองค์มา
ประสูติจากสตรีเพศและทรงถือกำเนิดใต้ธรรมบัญญัติ
5 เพื่อจะทรงไถ่คนเหล่านั้นที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ เพื่อให้เราได้รับฐานะเป็นบุตร
6 และเพราะท่านทั้งหลายเป็นบุตรแล้วพระองค์จึงทรงใช้พระวิญญาณแห่งพระบุตรของพระองค์ เข้ามาในใจของเราร้องว่า "อับบา (พ่อ)"
(กาลาเทีย 4:4-6)
5 เพื่อจะทรงไถ่คนเหล่านั้นที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ เพื่อให้เราได้รับฐานะเป็นบุตร
6 และเพราะท่านทั้งหลายเป็นบุตรแล้วพระองค์จึงทรงใช้พระวิญญาณแห่งพระบุตรของพระองค์ เข้ามาในใจของเราร้องว่า "อับบา (พ่อ)"
(กาลาเทีย 4:4-6)
บุตรทั้งหลายมีเลือดและเนื้อเช่นกันอย่างไร
พระองค์ก็ทรงมีส่วนเช่นนั้นด้วยอย่างนั้น เพื่อโดยทางความตายนั้น
พระองค์จะทรงทำลายมารผู้มีอำนาจแห่งความตาย
(ฮีบรู 2:14)
(ฮีบรู 2:14)
ดังนั้น มรดกที่เราได้รับแล้วจากพันธสัญญากับเอวา ก็คือความหลุดพ้นจากอำนาจของซาตาน ความบาป และความตาย สรรเสริญพระเจ้า
ผมประทับใจที่ Witness Lee ได้เขียนไว้เกี่ยวกับอำนาจของซาตาน
พระคัมภีร์กล่าวชัดเจนว่าหัวของซาตานถูกบดขยี้แล้ว เขาถูกตรึงกับพระคริสต์ที่กางเขนแล้ว
เขาทุกทำลายแล้ว ดังนั้นเขาไม่มีอำนาจมากอีกต่อไป
และนี่คือความจริงที่พระคัมภีร์บอกไว้ แม้ว่าจะขัดกับความรู้สึกว่าเขามีอำนาจมากอยู่
ดังนั้น อย่าเชื่อความรู้สึกของเรา แต่ขอให้เราเชื่อพระคัมภีร์
และดำรงชีวิตแห่งชัยชนะ เพราะเราดำรงชีวิตจากพื้นฐานแห่งชัยชนะซึ่งเราได้รับร่วมกับพระคริสต์
ไม่ได้ดำรงชีวิตเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ!
1.2 พันธสัญญากับอับราฮัม
หลังจากสมัยที่มนุษย์ล้มลงในความบาปประมาณ 2 พันปี
ก็มีบุคคลสำคัญคนหนึ่งปรากฏตัวขึ้นมา นั่นคืออับราฮัม พระเจ้าได้ให้พระสัญญาแก่อับราฮัมหลายอย่าง
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชื้อสาย เรื่องดินแดน และเรื่องพระพรในปฐมกาลบทที่ 12 ซึ่งพระสัญญาทั้งหมดล้วนเป็นเงาที่เล็งไปถึงพระคริสต์ทั้งสิ้น
ต่อมาพระองค์ได้ทำพันธสัญญานิรันดร์แก่อับราฮัมในปฐมกาลบทที่
17
เราจะสถาปนาพันธสัญญาของเราไว้ระหว่างเรากับเจ้า
และเชื้อสายต่อมาของเจ้าตลอดชั่วชาติพันธุ์ของเจ้าให้เป็นพันธสัญญานิรันดร์
คือเป็นพระเจ้าแก่เจ้า และแก่เชื้อสายต่อมาของเจ้า
(ปฐมกาล 17:7)
(ปฐมกาล 17:7)
และแน่นอน
พันธสัญญาที่พระเจ้าทำไว้กับอับราฮัมนั้นไม่สำเร็จ จนกระทั่งอีก 2 พันปีต่อมา
เมื่อพระคริสต์ได้มายังโลกนี้ เมื่อพระองค์คืนชีวิตขึ้นมาหลังจากที่พระองค์ถูกตรึงตายบนไม้กางเขน
พระองค์ได้ให้พระวิญญาณของพระองค์แก่เรา เพื่อที่เราจะได้รู้จักพระองค์และเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ตลอดไป
เพื่อพรของอับราฮัมจะได้มาถึงบรรดาคนต่างชาติ
ที่อยู่ในพระเยซูคริสต์ เพื่อเราจะได้รับพระวิญญาณตามพระสัญญาโดยความเชื่อ
(กาลาเทีย 3:14)
(กาลาเทีย 3:14)
ดังนั้น มรดกที่เราได้รับจากพันธสัญญากับอับราฮัม
ก็คือพระคริสต์พระองค์เองผู้เป็นพระพรที่แท้จริงและมรดกที่ล้ำค่าของเรา
1.3 พันธสัญญากับดาวิด
อีกหลายร้อยปีต่อมา พระเจ้าก็ได้ทำพันธสัญญากับกษัตริย์ดาวิดผู้เป็นเชื้อสายของอับราฮัม
และได้สัญญาอีกครั้งถึง "เชื้อสาย" ที่จะมาจากพงศ์พันธุ์ของดาวิด ผู้ซึ่งจะครองบัลลังก์ตลอดกาล
3
พระองค์ตรัสว่า "เราได้ทำพันธสัญญากับผู้ที่เราเลือก เราได้ปฏิญาณกับดาวิดผู้รับใช้ของเราว่า
4 'เราจะสถาปนาพงศ์พันธุ์ของเจ้าไว้เป็นนิตย์ และจะสร้างบัลลังก์ของเจ้าไว้ทุกชั่วชาติพันธุ์' " เส-ลาห์
(ฮีบรู 89:3-4)
4 'เราจะสถาปนาพงศ์พันธุ์ของเจ้าไว้เป็นนิตย์ และจะสร้างบัลลังก์ของเจ้าไว้ทุกชั่วชาติพันธุ์' " เส-ลาห์
(ฮีบรู 89:3-4)
แน่นอนว่าเชื้อสายนี้ไม่ใช่ลูกของดาวิดเลย เพราะไม่มีใครที่อยู่ยงคงกระพันเลย
แม้แต่ซาโลมอนซึ่งเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ก็ไม่ได้ครองบัลลังก์ตลอดไป แต่เชื้อสายที่พระเจ้ากล่าวถึงนี้ก็คือพระคริสต์ผู้ที่ได้ปรากฏตัวขึ้นประมาณพันปีหลังจากสมัยของดาวิด
การปรากฏตัวที่ยืนยันว่าพระองค์เป็นพรอันบริสุทธิ์และมั่นคงแก่ผู้เชื่อทุกคนตามที่พระองค์สัญญาไว้กับดาวิดก็คือการเป็นขึ้นจากความตายของพระองค์
บัดนี้เราผู้เชื่อทุกคนได้รับสิทธิ์ที่จะครอบครองเป็นกษัตริย์ร่วมกับพระองค์ในอาณาจักรของพระองค์ชั่วนิรันดร์
ส่วนข้อที่ว่า
พระเจ้าทรงให้พระองค์เป็นขึ้นจากตาย ไม่ให้เน่าเปื่อยอีกนั้น
พระองค์ตรัสดังนี้ว่า "เราจะให้พรอันบริสุทธิ์และมั่นคงที่เราสัญญาไว้กับดาวิดแก่พวกท่าน"
(กิจการ 13:34)
(กิจการ 13:34)
4
ข้าพเจ้าเห็นบัลลังก์หลายบัลลังก์
และผู้ที่นั่งอยู่บนนั้นได้รับมอบอำนาจในการพิพากษา
ข้าพเจ้าเห็นดวงวิญญาณของคนทั้งหลายที่ถูกตัดศีรษะเพราะการเป็นพยานถึงพระเยซู
และเพราะพระวจนะของพระเจ้า
พวกเขาไม่ได้บูชาสัตว์ร้ายหรือรูปของมัน
และไม่ได้รับเครื่องหมายของมันไว้ที่หน้าผากหรือที่มือของเขา
เขาทั้งหลายกลับมีชีวิตขึ้นอีกและครอบครองร่วมกับพระคริสต์เป็นเวลาหนึ่งพันปี
6 ใครที่มีส่วนในการเป็นขึ้นจากตายครั้งแรกก็เป็นสุขและบริสุทธิ์ ความตายครั้งที่สองจะไม่มีอำนาจเหนือเขาทั้งหลาย แต่เขาจะเป็นปุโรหิตของพระเจ้าและของพระคริสต์ และจะครอบครองร่วมกับพระองค์หนึ่งพันปี
(วิวรณ์ 20:4,6)
6 ใครที่มีส่วนในการเป็นขึ้นจากตายครั้งแรกก็เป็นสุขและบริสุทธิ์ ความตายครั้งที่สองจะไม่มีอำนาจเหนือเขาทั้งหลาย แต่เขาจะเป็นปุโรหิตของพระเจ้าและของพระคริสต์ และจะครอบครองร่วมกับพระองค์หนึ่งพันปี
(วิวรณ์ 20:4,6)
ดังนั้น มรดกที่เราได้รับจากพันธสัญญากับดาวิด คือ เกียรติสิริในฐานะกษัตริย์ร่วมกับพระองค์ในอาณาจักรนิรันดร์ของพระองค์ตลอดไป
2. พันธสัญญาของพระเจ้ากับโนอาห์ในการให้
"รุ้ง"
11 "เราจะตั้งพันธสัญญาของเราไว้กับพวกเจ้าว่าจะไม่ทำลายมนุษย์และสัตว์ทั้งปวงโดยให้น้ำท่วมอีก
และจะไม่ให้มีน้ำมาท่วมทำลายโลกอีกต่อไป"
12 พระเจ้าตรัสว่า "นี่แหละเป็นเครื่องหมายแห่งพันธสัญญา ซึ่งเราให้ไว้ระหว่างเรากับพวกเจ้า และกับสัตว์มีชีวิตทั้งปวงที่อยู่กับพวกเจ้าสืบไปทุกชั่วอายุ
13 คือเราตั้งรุ้งของเราไว้ที่เมฆ และรุ้งนั้นจะเป็นเครื่องหมายแห่งพันธสัญญาระหว่างเรากับโลก"
(ปฐมกาล 9:11-13)
12 พระเจ้าตรัสว่า "นี่แหละเป็นเครื่องหมายแห่งพันธสัญญา ซึ่งเราให้ไว้ระหว่างเรากับพวกเจ้า และกับสัตว์มีชีวิตทั้งปวงที่อยู่กับพวกเจ้าสืบไปทุกชั่วอายุ
13 คือเราตั้งรุ้งของเราไว้ที่เมฆ และรุ้งนั้นจะเป็นเครื่องหมายแห่งพันธสัญญาระหว่างเรากับโลก"
(ปฐมกาล 9:11-13)
ถ้าใครเคยอ่านพระคัมภีร์ก็น่าจะได้อ่านผ่านเกี่ยวกับต้นกำเนิดของรุ้งในปฐมกาลบทที่ 9 ซึ่งเป็นสิ่งที่พระเจ้าให้ไว้เป็นเครื่องหมายแห่งพันธสัญญาที่พระองค์ทำไว้กับโนอาห์
หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมโลก
ผมได้มีโอกาสศึกษาจากการอ่านและกลุ่มสามัคคีธรรม
และได้มีโอกาสนั่งคิดเกี่ยวกับรุ้ง เลยอยากเล่าให้ฟังว่ารุ้งมีความหมายอย่างไรบ้างครับ
2.1 รุ้งเป็นของขวัญจากพระเจ้า
เวลาผมเห็นรุ้ง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ผมจะรู้สึกสดชื่น
ตื่นเต้น และชื่นชมในความสวยงามของมัน ถ้าหากว่าผมเป็นคนปกติ
ทุกคนก็คงจะรู้สึกเช่นเดียวกับผม
ในแง่หนึ่ง รุ้งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดจากการหักเหของแสง
แต่ในอีกแง่หนึ่ง พระคัมภีร์กล่าวชัดเจนว่ารุ้งมีเจ้าของ รุ้งเป็นของพระเจ้า
(ปฐมกาล 9:13)
ดังนั้นทุกครั้งที่เห็นรุ้ง ก็อย่าลืมคิดถึงเจ้าของของมันด้วยนะครับ
มันคือของขวัญที่พระเจ้าให้เราได้ชื่นชมครับ
1.2 รุ้งเป็นเครื่องหมายแห่งพันธสัญญาของพระเจ้า
ตรงไปตรงมาจากพระคำตอนนี้ รุ้งเป็นเครื่องหมายแห่งพันธสัญญา
ยืนยันว่าโลกนี้จะไม่จบลงเพราะน้ำท่วมโลก อย่างไรก็ตาม จากพระธรรม 2 เปโตร
เราจะเห็นได้ว่าโลกจะจบลงแน่ๆ ด้วยไฟที่เผาผลาญ แต่ไม่ต้องกลัวครับ
เพราะเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นหลังยุคพันปี เราทุกคนอยู่กับพระเจ้าแล้ว
และหลังจากจุดจบนั้นเอง ก็จะเกิดสิ่งที่ดีล้ำเลิศขึ้นมา ที่โลกนี้เทียบไปได้เลย นั่นคือแผ่นดินสวรรค์ใหม่และโลกใหม่
ที่ซึ่งเราจะได้อยู่ร่วมกันกับพระเจ้าและพี่น้องอย่างมีความสุขตลอดกาล
นอกจากนี้ รุ้งเองยังเป็นครื่องหมายแสดงให้เราเห็นถึงความสัตย์ซื่อและความเมตตาของพระเจ้าที่ละเว้นครอบครัวของโนอาห์ไว้จากการพิพากษา
เช่นเดียวกัน เมื่อเราเห็นรุ้ง ก็ขอให้เราชื่นชมความสัตย์ซื่อและความเมตตาของพระเจ้าที่จะละเว้นเราไว้จากการพิพากษาเช่นเดียวกันนะครับ (ผู้เชื่อจะต้องถูกพิพากษา
แต่เพื่อรับบำเหน็จครับ ไม่ใช่เพื่อตัดสินว่ารอดจากบึงไฟนรกหรือไม่)
ที่น่าสนใจคือ ในสวรรค์ก็จะยังมีรุ้งอยู่ และรุ้งนี้จะอยู่ที่บัลลังก์ของพระเจ้า
แสดงให้เห็นว่าพันธสัญญานี้จะดำรงอยู่ตลอดไป พระเจ้าไม่เคยลืมคำสัญญานี้เลย
และท่านที่ประทับบนพระที่นั่งนั้นปรากฏเหมือนแจสเพอร์และคาร์เนเลียน
และมีรุ้งรอบๆ พระที่นั่งนั้น ปรากฏเหมือนมรกต
(วิวรณ์ 4:3)
(วิวรณ์ 4:3)
1.3 รุ้งเป็นการสำแดงของพระเจ้า
รุ้งมี 7 สี แต่สีหลักๆ ก็คงจะเป็นแม่สีหลัก นั่นคือ
สีแดง สีเหลือง และสีฟ้า
สำหรับผู้ที่ศึกษาความหมายของสีต่างๆ ในพระคัมภีร์
ก็จะตีความได้อย่างนี้ครับ
- สีแดง เป็นสีของไฟ แสดงถึงความบริสุทธิ์
- สีเหลือง เป็นสีของโลหะผสมทองและเงิน แสดงถึงพระสิริ
- สีฟ้า เป็นสีของหินแซฟไฟร์ แสดงถึงความชอบธรรม
ดังนั้น สีต่างๆ ในรุ้ง ล้วนสำแดงถึงลักษณะของคนที่สร้างมันขึ้นมา
พระเจ้าของเราเป็นพระเจ้าผู้บริสุทธิ์ เปี่ยมด้วยพระสิริ และชอบธรรม
และเราทุกคนผู้ที่อยู่ในพระคริสต์ ก็ได้มีประสบการณ์กับพระเจ้าองค์นี้
พระองค์เป็นมรดกของเรา พระคัมภีร์กล่าวชัดเจนว่าเมื่อเราอยู่ในพระคริสต์ เราได้รับความชอบธรรมของพระเจ้า
ได้เป็นผู้บริสุทธิ์ และได้ร่วมในศักดิ์ศรีของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา
ช่างเป็นมรดกล้ำค่าซึ่งไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน
โดยพระองค์
ท่านทั้งหลายจึงอยู่ในพระเยซูคริสต์
ผู้ทรงเป็นพระปัญญาจากพระเจ้าสำหรับเรา
ทรงเป็นผู้ทำให้เราชอบธรรม ทรงเป็นผู้ชำระเราให้บริสุทธิ์
และทรงเป็นผู้ไถ่บาป
(1 โครินธ์ 1:30)
(1 โครินธ์ 1:30)
พระองค์ทรงเรียกพวกท่านเพื่อการนี้โดยทางข่าวประเสริฐของเรา
เพื่อท่านจะได้ร่วมในศักดิ์ศรีของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา
(2 เธสะโลนิกา 2:14)
(2 เธสะโลนิกา 2:14)
"พันธสัญญา"
ในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่
พระคัมภีร์เดิมมีพันธสัญญามากมาย แต่พี่น้องคงจะได้เห็นแล้วสินะครับว่า
พันธสัญญาเดิมเป็นเหมือนแค่เงา ของแท้ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ใหม่ทั้งสิ้น ขอบคุณพระเจ้าที่ให้เราได้เกิดมาในสมัยนี้
ทำให้เราได้เพลิดเพลินกับมรดกต่างๆ ที่พระเจ้าผู้ทำพินัยกรรมตั้งใจจะมอบให้
นอกจากนี้ ในพระคัมภีร์ใหม่เอง ก็ได้มีพันธสัญญาเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
แต่ก่อนที่จะถึงตรงนั้น อยากขอกล่าวถึงภาพรวมของพันธสัญญาใหม่
ที่ปรากฏในพระธรรมเยเรมีย์บทที่ 31 ครับ
เพราะเป็นภาพที่ทำให้เราได้เห็นพันธสัญญาใหม่ได้ชัดเจน และทำให้พระธรรมเยเรมีย์เป็นหนังสือเล่มหนึ่งในพระคัมภีร์เดิมที่เชื่อมต่อกับพันธสัญญาใหม่ได้อย่างลงตัว
31
พระยาห์เวห์ตรัสว่า "นี่แน่ะ วันเวลาจะมาถึง
ซึ่งเราจะทำพันธสัญญาใหม่กับเชื้อสายของอิสราเอลและเชื้อสายของยูดาห์
32 ไม่เหมือนกับพันธสัญญาซึ่งเราได้ทำกับบรรพบุรุษของเขาทั้งหลาย เมื่อเราจูงมือเขาเพื่อนำเขาออกมาจากแผ่นดินอียิปต์ เป็นพันธสัญญาของเราซึ่งเขาฝ่าฝืน ถึงแม้ว่าเราได้เป็นสามีของเขา" พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้แหละ
33 แต่นี่จะเป็นพันธสัญญาซึ่งเราจะทำกับเชื้อสายของอิสราเอลภายหลังสมัยนั้น" พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้แหละ "เราจะบรรจุธรรมบัญญัติไว้ในเขาทั้งหลาย และเราจะจารึกมันไว้บนดวงใจของเขา และเราจะเป็นพระเจ้าของเขา และเขาจะเป็นประชากรของเรา"
(เยเรมีย์ 31:31-33)
32 ไม่เหมือนกับพันธสัญญาซึ่งเราได้ทำกับบรรพบุรุษของเขาทั้งหลาย เมื่อเราจูงมือเขาเพื่อนำเขาออกมาจากแผ่นดินอียิปต์ เป็นพันธสัญญาของเราซึ่งเขาฝ่าฝืน ถึงแม้ว่าเราได้เป็นสามีของเขา" พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้แหละ
33 แต่นี่จะเป็นพันธสัญญาซึ่งเราจะทำกับเชื้อสายของอิสราเอลภายหลังสมัยนั้น" พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้แหละ "เราจะบรรจุธรรมบัญญัติไว้ในเขาทั้งหลาย และเราจะจารึกมันไว้บนดวงใจของเขา และเราจะเป็นพระเจ้าของเขา และเขาจะเป็นประชากรของเรา"
(เยเรมีย์ 31:31-33)
พันธสัญญาใหม่นี้ได้มีการประกาศใช้แล้ว องค์พระเยซูคริสต์ได้ประกาศพันธสัญญาใหม่ในพิธีมหาสนิท
อันเป็นพันธสัญญาแห่งโลหิตที่พระองค์หลั่งออกเพื่อนำการยกโทษมาสู่ทุกคนที่เชื่อวางใจในพระองค์
26
ระหว่างรับประทานอยู่นั้น พระเยซูทรงหยิบขนมปังขึ้นมา
และเมื่อขอพระพรแล้ว ก็ทรงหักส่งให้บรรดาสาวกตรัสว่า "จงรับไปกินเถิด นี่เป็นกายของเรา"
27 แล้วพระองค์ทรงหยิบถ้วย เมื่อขอบพระคุณแล้ว ก็ทรงส่งให้พวกเขาตรัสว่า "จงรับไปดื่มทุกคนเถิด
28 เพราะว่านี่เป็นโลหิตของเราอันเป็นโลหิตแห่งพันธสัญญาที่หลั่งออกเพื่อยกบาปโทษคนจำนวนมาก"
(มัทธิว 26:25-28)
27 แล้วพระองค์ทรงหยิบถ้วย เมื่อขอบพระคุณแล้ว ก็ทรงส่งให้พวกเขาตรัสว่า "จงรับไปดื่มทุกคนเถิด
28 เพราะว่านี่เป็นโลหิตของเราอันเป็นโลหิตแห่งพันธสัญญาที่หลั่งออกเพื่อยกบาปโทษคนจำนวนมาก"
(มัทธิว 26:25-28)
พระธรรมฮีบรูได้อธิบายให้เราได้เห็นถึงมรดกที่เราจะได้รับจากพันธสัญญาใหม่นี้อย่างชัดเจน
โดยอ้างอิงมาจากพระธรรมเยเรมีย์บทที่ 31
8
เพราะพระเจ้าทรงติเตียนพวกเขาว่า "องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่านี่แน่ะ
วันเวลาจะมาถึง เมื่อเราจะทำพันธสัญญาใหม่กับชนชาติอิสราเอล และกับชนชาติยูดาห์
9 ที่ไม่เหมือนกับพันธสัญญาซึ่งเราเคยทำกับบรรพบุรุษของเขาทั้งหลาย ในวันที่เราจูงมือพวกเขาเพื่อพาออกจากแผ่นดินอียิปต์ เพราะพวกเขาไม่ได้ดำรงอยู่ในพันธสัญญาของเรา เราจึงละทิ้งพวกเขาไว้ องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสดังนี้แหละ
10 นี่คือพันธสัญญาที่เราจะทำกับชนชาติอิสราเอล ภายหลังจากสมัยนั้น องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัส เราจะบรรจุธรรมบัญญัติของเราไว้ในจิตใจของพวกเขา และเราจะจารึกมันไว้ในดวงใจของพวกเขา และเราจะเป็นพระเจ้าของพวกเขา และพวกเขาจะเป็นประชากรของเรา
11 และพวกเขาจะไม่สอนเพื่อนบ้าน และพี่น้องของตนแต่ละคนว่า "จงรู้จักองค์พระผู้เป็นเจ้า" เพราะเขาทุกคนจะรู้จักเรา ตั้งแต่คนต่ำต้อยที่สุดจนถึงคนใหญ่โตที่สุด
12 เพราะเราจะเมตตาต่อการอธรรมของพวกเขา และจะไม่จดจำบรรดาบาปของพวกเขาไว้เลย"
(ฮีบรู 8:8-12)
9 ที่ไม่เหมือนกับพันธสัญญาซึ่งเราเคยทำกับบรรพบุรุษของเขาทั้งหลาย ในวันที่เราจูงมือพวกเขาเพื่อพาออกจากแผ่นดินอียิปต์ เพราะพวกเขาไม่ได้ดำรงอยู่ในพันธสัญญาของเรา เราจึงละทิ้งพวกเขาไว้ องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสดังนี้แหละ
10 นี่คือพันธสัญญาที่เราจะทำกับชนชาติอิสราเอล ภายหลังจากสมัยนั้น องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัส เราจะบรรจุธรรมบัญญัติของเราไว้ในจิตใจของพวกเขา และเราจะจารึกมันไว้ในดวงใจของพวกเขา และเราจะเป็นพระเจ้าของพวกเขา และพวกเขาจะเป็นประชากรของเรา
11 และพวกเขาจะไม่สอนเพื่อนบ้าน และพี่น้องของตนแต่ละคนว่า "จงรู้จักองค์พระผู้เป็นเจ้า" เพราะเขาทุกคนจะรู้จักเรา ตั้งแต่คนต่ำต้อยที่สุดจนถึงคนใหญ่โตที่สุด
12 เพราะเราจะเมตตาต่อการอธรรมของพวกเขา และจะไม่จดจำบรรดาบาปของพวกเขาไว้เลย"
(ฮีบรู 8:8-12)
จากพระธรรมฮีบรูตอนนี้ เราเห็นได้ถึงมรดกอันล้ำค่ายิ่งที่เราได้รับ
ในฐานะผู้รับมรดกของพระองค์ ถึง 4 ประการ คือ
1. พระองค์จะบรรจุธรรมบัญญัติไว้ในจิตใจของเรา
ในพระคัมภีร์เดิม พันธสัญญาที่โดดเด่นที่สุดก็คงจะเป็นพันธสัญญาที่พระเจ้าทำกับโมเสส
ซึ่งปรากฏในอพยพ 19-24 ในบทเรียนที่ 18 ผมได้เล่าให้ฟังแล้วว่า เป้าหมายของธรรมบัญญัติ
ไม่ใช่มีไว้เพื่อให้เราปฏิบัติตามด้วยกำลังของเราเอง เพราะว่าเราอ่อนแอเกินไปที่จะรักษาธรรมบัญญัติได้อย่างครบถ้วน
แต่หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของธรรมบัญญัติ ก็คือ เพื่อเปิดเผยความบริสุทธิ์ของพระเจ้า
เปิดโปงความชั่วร้ายและความสิ้นหวังของเรา และนำเราให้พึ่งพาองค์พระผู้ช่วยเพื่อจะได้รับความหลุดพ้น
ดังนั้น พันธสัญญาเดิมที่ปรากฏในธรรมบัญญัติจึงเป็นพันธสัญญาแห่งการกล่าวโทษ
22
เพราะว่าส่วนลึกในใจของข้าพเจ้านั้น
ก็ชื่นชมในธรรมบัญญัติของพระเจ้า
23 แต่ข้าพเจ้าเห็นมีกฎอีกอย่างหนึ่งอยู่ในอวัยวะของข้าพเจ้า ซึ่งต่อสู้กับกฎแห่งจิตใจของข้าพเจ้า และชักนำให้อยู่ใต้บังคับกฎแห่งบาป ซึ่งอยู่ในอวัยวะของข้าพเจ้า
24 โอย ข้าพเจ้าเป็นคนน่าสมเพชอะไรเช่นนี้? ใครจะช่วยให้พ้นจากร่างกายแห่งความตายนี้
25 ขอบพระคุณพระเจ้า โดยทางพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา ฉะนั้นทางด้านจิตใจข้าพเจ้ารับใช้ธรรมบัญญัติของพระเจ้า แต่ทางฝ่ายเนื้อหนังข้าพเจ้ารับใช้กฎแห่งบาป
(โรม 7:22-25)
23 แต่ข้าพเจ้าเห็นมีกฎอีกอย่างหนึ่งอยู่ในอวัยวะของข้าพเจ้า ซึ่งต่อสู้กับกฎแห่งจิตใจของข้าพเจ้า และชักนำให้อยู่ใต้บังคับกฎแห่งบาป ซึ่งอยู่ในอวัยวะของข้าพเจ้า
24 โอย ข้าพเจ้าเป็นคนน่าสมเพชอะไรเช่นนี้? ใครจะช่วยให้พ้นจากร่างกายแห่งความตายนี้
25 ขอบพระคุณพระเจ้า โดยทางพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา ฉะนั้นทางด้านจิตใจข้าพเจ้ารับใช้ธรรมบัญญัติของพระเจ้า แต่ทางฝ่ายเนื้อหนังข้าพเจ้ารับใช้กฎแห่งบาป
(โรม 7:22-25)
แต่ขอบคุณพระเจ้า พระองค์รู้ว่าเราสิ้นหวังเพียงไร
พระองค์จึงให้พันธสัญญาใหม่แก่เรา คือพระองค์จะบรรจุธรรมบัญญัติ (law = กฎ
หรือกฎหมาย) ไว้ในดวงใจของเรา และพระองค์สัญญาไว้ว่าพระองค์จะเป็นพระเจ้าของเรา และเราจะเป็นประชากรของพระองค์
ในโรมบทที่ 8 อัครทูตเปาโลได้กล่าวถึงธรรมบัญญัติที่จะจารึกอยู่ในดวงใจของเรา
ว่าเป็นกฎใหม่ที่จะเกิดขึ้นในชีวิตของเรา ไม่ใช่กฎแห่งความดีหรือความชั่ว
แต่เป็นกฎของพระวิญญาณแห่งชีวิต ซึ่งนำเราให้รอดพ้นจากการลงโทษ ความบาป และความตาย
นี่คือพันธสัญญาใหม่ที่พระเจ้าได้มอบไว้แก่เรา
1
เพราะฉะนั้นไม่มีการลงโทษคนที่อยู่ในพระเยซูคริสต์
2 เพราะว่ากฎของพระวิญญาณแห่งชีวิตในพระเยซูคริสต์ได้ทำให้ท่านพ้นจากกฎแห่งบาปและความตาย
3 เพราะว่าสิ่งซึ่งธรรมบัญญัติทำไม่ได้ เพราะเนื้อหนังทำให้มันอ่อนกำลังไปนั้น พระเจ้าได้ทรงทำแล้ว โดยพระองค์ทรงใช้พระบุตรของพระองค์เองมา ในสภาพเสมือนเนื้อหนังที่บาป และเพื่อไถ่บาป พระบุตรในเนื้อหนังจึงได้ทรงลงโทษบาป
4 เพื่อความชอบธรรมของธรรมบัญญัติจะได้สำเร็จในตัวเราผู้ไม่ดำเนินตามเนื้อหนัง แต่ตามพระวิญญาณ
(โรม 8:1-4)
2 เพราะว่ากฎของพระวิญญาณแห่งชีวิตในพระเยซูคริสต์ได้ทำให้ท่านพ้นจากกฎแห่งบาปและความตาย
3 เพราะว่าสิ่งซึ่งธรรมบัญญัติทำไม่ได้ เพราะเนื้อหนังทำให้มันอ่อนกำลังไปนั้น พระเจ้าได้ทรงทำแล้ว โดยพระองค์ทรงใช้พระบุตรของพระองค์เองมา ในสภาพเสมือนเนื้อหนังที่บาป และเพื่อไถ่บาป พระบุตรในเนื้อหนังจึงได้ทรงลงโทษบาป
4 เพื่อความชอบธรรมของธรรมบัญญัติจะได้สำเร็จในตัวเราผู้ไม่ดำเนินตามเนื้อหนัง แต่ตามพระวิญญาณ
(โรม 8:1-4)
ดังนั้น กระบวนการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้เชื่อ จึงไม่ใช่เรื่องของการพยายามเปลี่ยนแปลงจากภายนอกด้วยการพยายามเชื่อฟังกฎหมายของพระเจ้าอีกต่อไป
แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงจากภายในด้วยกฎของพระวิญญาณแห่งชีวิต นั่นคือพระวิญญาณที่อยู่ในชีวิตของเรา
จะทำการเปลี่ยนจิตใจของเรา ทั้งในส่วนของความคิด อารมณ์ และความตั้งใจ เพื่อที่เราจะเป็นเหมือนพระคริสต์มากขึ้นทุกวันๆ
แล้วในที่สุด เราทุกคนจะเป็นแบบจำลองของพระคริสต์ ให้ชาวโลกได้เห็นพระองค์ผ่านทางชีวิตของเรา
2. พระองค์จะเป็นพระเจ้าของเรา
และเราจะเป็นประชากรของพระองค์
นี่ช่างเป็นคำสัญญาที่หนุนใจจริงๆ เราไม่ได้รับพระพรต่างๆ
จากพระองค์เท่านั้น แต่เราได้พระองค์เองเป็นมรดกด้วยเช่นกัน พระองค์จะเป็นพระเจ้าของเราเสมอไป
ในทางกลับกัน เรามีค่ามากในสายตาของพระเจ้า เราเป็นประชากรของพระองค์
นั่นหมายถึงเราทุกคนล้วนเป็นมรดกของพระเจ้าเช่นเดียวกัน
3. พระองค์จะนำให้เรารู้จักพระองค์
พันธสัญญาใหม่ทำให้เราได้รับกฎแห่งพระวิญญาณแห่งชีวิต
และได้พระองค์เป็นพระเจ้า ผลที่ตามมาคือเราจะได้รู้จักพระองค์ ไม่ใช่เพียงแค่รู้เกี่ยวกับพระองค์เท่านั้น
แต่เราจะได้รู้จักพระองค์จากภายใน จากประสบการณ์ของเรา
4. พระองค์จะยกโทษเรา
และไม่จำบาปของเราไว้เลย
ช่างเป็นพระสัญญาที่เยี่ยมยอดจริงๆ พระเจ้าของเราเปี่ยมด้วยความรักแท้
พระองค์เต็มเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา พระองค์พร้อมและอยากที่จะยกโทษเรา และเนื่องจากพระคริสต์เป็นเครื่องบูชาลบบาปของเราแล้ว
บาปของเราจึงถูกลบจนเกลี้ยง ทั้งบาปในอดีต ในปัจจุบัน และในอนาคต พระองค์จะไม่จดจำบาปของเราอีกต่อไป!
สรรเสริญพระเจ้าสำหรับพันธสัญญาใหม่ที่พระองค์มอบให้แก่เราโดยพระคุณ
และเราก็ได้รับมรดกเหล่านี้แล้วผ่านทางความเชื่อในพระเยซูคริสต์ ขอพระเจ้าช่วยที่เราทุกคนจะยึดมั่นในพันธสัญญานี้
และดำเนินชีวิตแห่งเสรีภาพในพระองค์
17
ข้าพเจ้าอธิษฐานว่าขอพระเจ้าของพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราคือพระบิดาผู้ทรงพระสิริ
ทรงให้ท่านทั้งหลายมีจิตใจที่ประกอบด้วยปัญญาและการสำแดง
เพื่อท่านจะรู้จักพระองค์
18 ขอให้ตาใจของพวกท่านสว่างขึ้น เพื่อจะได้รู้ว่าพระองค์ประทานความหวังอะไรแก่ท่านในการทรงเรียกพวกท่านนั้น และรู้ว่ามรดกที่มีศักดิ์ศรีของพระองค์สำหรับพวกธรรมิกชนนั้นบริบูรณ์เพียงไร
19 และรู้ว่าฤทธานุภาพของพระองค์ยิ่งใหญ่มากมายเพียงไรสำหรับเราที่เชื่อนั้น เป็นฤทธิ์เดชเดียวกับการทำกิจอันทรงอานุภาพและทรงพลังของพระองค์
(เอเฟซัส 1:17-19)
18 ขอให้ตาใจของพวกท่านสว่างขึ้น เพื่อจะได้รู้ว่าพระองค์ประทานความหวังอะไรแก่ท่านในการทรงเรียกพวกท่านนั้น และรู้ว่ามรดกที่มีศักดิ์ศรีของพระองค์สำหรับพวกธรรมิกชนนั้นบริบูรณ์เพียงไร
19 และรู้ว่าฤทธานุภาพของพระองค์ยิ่งใหญ่มากมายเพียงไรสำหรับเราที่เชื่อนั้น เป็นฤทธิ์เดชเดียวกับการทำกิจอันทรงอานุภาพและทรงพลังของพระองค์
(เอเฟซัส 1:17-19)
เขียนและเรียบเรียงโดย ธีรยสถ์ นิมมานนท์
- The holy word for morning revival: crystallization-study of Exodus, week 18: Covenanting God and His covenants (1) major covenants that God made with man.
- The holy word for morning revival: crystallization-study of Exodus, week 19: Covenanting God and His covenants (2) the contents of the new covenant.
- Life study of Jeremiah, message 39.
- Life-Study of John pp. 317-318, eManna for 08/10/2015
- Life study of Hebrews, message 36.
หมายเหตุ: ข้อพระคัมภีร์ที่อ้างอิง
มาจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ไทย ฉบับมาตรฐาน ปี 2011 (THSV11) ของสมาคมพระคริสตธรรมไทย
หากไม่ได้ระบุว่ามาจากฉบับอื่น
No comments:
Post a Comment